วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

ลิงค์ ๆ

http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Knowledge/Database/database3.htm


http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/chayamon_b/com/index.html


http://www.thaiall.com/mis/mis07.htm

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

การจัดการฐานข้อมูล 2

ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management System)

คุณสมบัติของระบบจัดการฐานข้อมูล
ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

ต้องมีการใช้งานทรัพยากรของคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ
ต้องมีความเร็วในการตอบคำถามที่ผู้ใช้ถามอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (โดยปกติมักจะหมายถึงตอบทันทีทันใด)
ต้องมีความเข้ากันได้กับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และข้อมูลที่มีใช้งานอยู่เดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลง
ให้เหลือน้อยที่สุด ต้องสามารถทำการเพิ่มหรือลบเรคคอร์ดของข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งจะต้องยืดหยุ่นพอที่จะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลในฐานข้อมูล
ต้องให้ความสะดวกับผู้ใช้ในการเรียกใช้งานฐานข้อมูล เช่น มีภาษาในการสอบถามข้อมูล (query language)
รวมอยู่ด้วย ต้องมีระบบรักษาความถูกต้องของข้อมูลโดยการสำรองข้อมูล รวมทั้งป้องกันผู้ใช้จากการทำงาน
ผิดพลาดต่าง ๆ ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น เช่น มีคุณสมบัติการตรวจสอบ
และรหัสพิเศษในการเข้าใช้งาน


ภาษาอธิบายข้อมูล (Data Definition Language)
นิยมเรียกว่า ดีดีแอล (DDL) จะเป็นภาษาที่ใช้ในการอธิบายถึง โครงสร้าง (schema)

ของข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล โดยภายในโครงสร้างนี้ แต่ละฟิลด์ในเรคคอร์ดจะมีการกำหนดชื่อ
ความยาว และชนิดของข้อมูล นอกจากนี้ดีดีแอล ยังใช้ในการอธิบาย โครงสร้างย่อย (subshemas)
ซึ่งกำหนดฟิลด์ที่ผู้ใชสามารถเรียกใช้งานได้ และผู้ใช้แต่ละคนจะสามารถเข้าถึงโครงสร้างย่อย
ที่แตกต่างกันไป ทำให้สามารถใช้ป้องกันข้อมูลที่เป็นความลับได้

ภาษาสอบถามข้อมูล (query language)

ภาษาในการสอบถามข้อมูลเชิงคำสั่ง (command-oriented query language)
เป็นภาษาที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อใช้กับงานการจัดการข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล จะมีลักษณะการใช้งาน
คล้ายกับการใช้ภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์สูงมากนัก
ก็สามารถเรียกใช้ได้โดยสะดวก

โดยทั่วไปมีคำสั่งหลัก ๆ ดังนี้

คำสั่ง วัตถุประสงค์
INSERT RECORD เพิ่มข้อมูลชุดใหม่ลงในไฟล์
DELETE RECORD ลบข้อมูลชุดหนึ่งออกจากไฟล์
SELECT เลือกข้อมูลชุดที่ต้องการ
PROJECT เลือกฟิลด์ที่ต้องการ
JOIN

การจัดการระบบฐานข้อมูล !

ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS)

เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง
ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้
จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มดีเอ็มแอล (DML)
หรือ ดีดีแอล (DDL) หรือจะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูกดีบีเอ็มเอสนำมาแปล (คอมไพล์)
เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่างๆ ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไป
สำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายในดีบีเอ็มเอสที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่างๆ กับข้อมูลนั้น
ประกอบด้วยส่วนการปฏิบัติการดังนี้ ..



หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล



แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ
นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update)
ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้
และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า เมทาดาตา (MetaData) ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"
ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

:))